การศึกษารายกรณี
การศึกษารายกรณี (Case Study) หมายถึง กระบวนการศึกษาบุคคลใดบุคคลหนึ่ง กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ชุมชนใดชุมชนหนึ่ง หรือสถาบันใดสถาบันหนึ่งอย่างละเอียดต่อเนื่อง โดยใช้เครื่องมือ เทคนิค หรือวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้รายละเอียดของข้อมูล แล้วนำมาสังเคราะห์ วิเคราะห์ และวินิจฉัยหาสาเหตุของพฤติกรรม เพื่อดำเนินการช่วยเหลือ แก้ไข ป้องกัน หรือส่งเสริมพัฒนาการของบุคคล กลุ่มคน ชุมชน และสถาบันนั้นต่อไป
จุดมุ่งหมายของการศึกษารายกรณี
1.ศึกษานักเรียนที่มีปัญหาพิเศษเพื่อช่วยเหลือแก้ไข
2..ศึกษานักเรียน ที่มีความสามารถพิเศษเพื่อส่งเสริมพัฒนานักเรียนอย่างเต็มศักยภาพ
3. ช่วยให้นักเรียนเข้าใจและยอมรับ ความเป็นจริงของตน
4. ช่วยให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจและให้ความร่วมมืออย่างเหมาะสม
5. เพื่อการค้นคว้าวิจัย
เป็นการศึกษาพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นรายบุคคล โดยมรจุดมุ่งหมาย 3 ประการ
1.การส่งเสริมพฤติกรรมที่มีลักษณ์เชิงบวกในตัวบุคคลให้พัฒนางอกงามยิ่งขึ้น
2.ป้องกันมิให้เกิดพฤติกรรมในเชิงลบเกิดขึ้นในตัวบุคคล
3.การแก้ไขหรือลบพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาในตัวบุคคล
1.การส่งเสริมพฤติกรรมที่มีลักษณ์เชิงบวกในตัวบุคคลให้พัฒนางอกงามยิ่งขึ้น
2.ป้องกันมิให้เกิดพฤติกรรมในเชิงลบเกิดขึ้นในตัวบุคคล
3.การแก้ไขหรือลบพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาในตัวบุคคล
การรวบรวมข้อมูลมีวิธีการรวบรวมข้อมูลได้จากแหล่งต่าง
เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง
1.แบบสอบถาม
2.แบบสัมภาษณ์
3.แบบสังเกต
4.แบบทดสอบ
5.จากการศึกษาผลงานของผู้ถูกศึกษา
เก็บข้อมูลจากเพื่อนๆ
1.การสัมภาษณ์เพื่อน
2.การใช้สังคมมิติ
3การใช้แบบสอบถามใครเอ่ย
เก็บจากผู้ปกครอง
1.การสัมภาษณ์ผู้ปกครอง
2.การใช้แบบสอบถามสำหรับผู้ปกครอง
3.การเยี่ยมบ้านผู้ปกครอง
ข้อเสนอแนะในการศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี
1. ควรเน้นการสร้างเสริมพัฒนาการของบุคคล ไม่เน้นเฉพาะเด็กที่มีปัญหา
2. ควรเก็บข้อมูลให้ครอบคลุม แสดงพัฒนาการบุคคลอย่างต่อเนื่องทุกด้าน
3. ควรเก็บข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
4. ความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการแนะแนวจะช่วยให้การศึกษา Case มีประสิทธิภาพ
5.รายงานที่นำไปใช้เพื่อการวิจัยหรือเผยแพร่ จะต้องนำรายละเอียดที่บ่งบอกว่าผู้ถูกศึกษาเป็นใครออกให้หมด
6.ควรส่งเสริมสนับสนุนให้อาจารย์ประจำชั้นทุกคนศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคลอย่างน้อยปีละ 1 คน
การศึกษารายกรณีได้เข้ามามีบทบาทต่อการให้ความช่วยเหลือทางการแนะแนว ในฐานะที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีระบบ ระเบียบ และขั้นตอนที่ทำให้วิธีการดังกล่าวเป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือได้กว้างขวางไม่เพียงแต่จะจำกัดในศาสตร์แห่งการแนะแนวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบรรดาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือทั้งหมดซึ่งเรียกรวมๆว่าศาสตร์แห่งพฤติกรรม อันมีหลักเกี่ยวกับความเป็นไปและธรรมชาติของพฤติกรรมของมนุษย์ ทั้งนี้รวมถึงการจัดการเกี่ยวข้องเกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ด้วย หากแต่ว่าธรรมชาติของศาสตร์แห่งพฤติกรรมนี้มีความกว้างขวางในมิติของเนื้อหาที่จะเรียนรู้มาก จึงมักจะมีการแยกและจำกัดเนื้อหาออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาในรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น เช่น การแนะแนว การสงเคราะห์ จิตวิทยาคลินิก จิตเวชศาสตร์ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น