วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

บริการให้คำปรึกษา


บริการให้คำปรึกษา
             การให้คำปรึกษา 
 หมายถึง การสนทนาอย่างมีจุดมุ่งหมายของบุคคลสองคนซึ่งมีความสัมพันธ์กันเชิงจิตวิทยาเฉพาะส่วนบุคคล โดยบุคคลหนึ่งเป็นผู้ให้บริการ ซึ่งต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะทางตลอดจนสามารถนำเทคนิคต่างๆในการให้คำปรึกษาไปใช้เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งมีปัญหา ให้เขาสามารถแก้ปัญหาต่างๆในปัจจุบันได้อย่างฉลาดเหมาะสมและมีทักษะในการแก้ปัญหาอื่นๆในอนาคตได้ด้วยตนเอง

สาเหตุที่เกิดปัญหา
(1) ขาดความอบอุ่นในครอบครัว พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูก
(2) ใช้ชีวิตยามว่างตามห้างสรรพสินค้า ใช้มือถือ คุยผ่านอินเตอร์เน็ต
(3) ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
(4) เล่นพนันและเริ่มเล่นพนันผ่านโทรศัพท์ระบบ SMS
(5) ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้นและขาดความรับผิดชอบปัญหา

จุดมุ่งหมายของการให้คำปรึกษา
-ช่วยให้บุคคลมีความรู้สึกว่าตนเองไม่โดดเดี่ยวเมื่อเกิดปัญหา
-ช่วยให้เด็กที่มีความทุกข์ กลุ้มใจ มีปัญหา ได้เกิดมีความรู้สึกสบายอกสบายใจดีขึ้น
-ช่วยทำให้บุคคลสามารถรู้จักและเข้าใจตนเองได้อย่างถูกต้อง
-ช่วยให้เกิดความเข้าใจในตัวเองชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น เข้าใจในปัญหาของตนดีขึ้น
-ช่วยให้เด็กมองเห็นลู่ทางการแก้ปัญหาได้กว้างขวาง รอบคอบ ใคร่ครวญดีขึ้น
ช่วยให้บุคคลรู้จักใช้ความคิด ใช้สติปัญญาที่มีทั้งหมดนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา
-ช่วยให้บุคคลเกิดความกระจ่างขึ้นในใจ มองเห็นลู่ทางในการแก้ไขปัญหา
-ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จ แก้ปัญหาด้วยตนเองได้ด้วยดี มีความภาคภูมิใจตนเอง
-ช่วยให้บุคคลเห็นถึงความสำคัญ และประโยชน์ที่จะได้รับจากบริการแนะแนว
-ช่วยให้บุคคลสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้
-ช่วยให้บุคคลรู้จักความอดทน เสียสละ ยอมรับต่อสภาวการณ์ที่แท้จริง
-ช่วยให้บุคคลมีการพัฒนาการและเจริญงอกงามไปถึงขีดสูงสุด
-ช่วยให้เด็กมีความรู้สึกไม่ว้าเหว่ไม่เปล่าเปลี่ยวใจมีครูเป็นที่พึ่งเป็นมิตรมีสนิท เพราะว่าคนเราต้องการมีเพื่อนฝูงต้องการที่พึ่ง

กระบวนการให้การปรึกษา
ขั้นตอนที่  1การสร้างสัมพันธภาพ
ขั้นตอนที่  2การสำรวจปัญหา
ขั้นตอนที่  3การเข้าใจปัญหา สาเหตุ ความต้องการ
ขั้นตอนที่  4การวางแผนแก้ปัญหา
ขั้นตอนที่  5การยุติการปรึกษา

คุณลักษณะของผู้ให้การปรึกษา
1.การให้คำปรึกษาแบบไม่นำทาง
2.การให้คำปรึกษาแบบนำทาง
3.การให้คำปรึกษาแบบพฤติกรรมนิยม
4.การให้คำปรึกษาแบบเลือกwww.google.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น