บริการศึกษารวบรวมข้อมูล
เป็นบริการศึกษาให้รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์เด็กในการทำความเข้าใจเด็กให้ดีขึ้น และช่วยให้เขาได้รู้จักตัวของเขาเอง อันจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงตนเองต่อไป
เทคนิคในการรวบรวมข้อมูลมี 2 วิธี คือ
1.เทคนิคที่ไม่ใช่การทดสอบ (Non-test techniques) ได้แก่
-การสังเกต (Observation)
- มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)
- อัตชีวประวัติ (Autobiography)
- แบบสอบถาม (Questionnaire)
- การสัมภาษณ์ (Interviewing)
- การศึกษาเป็นรายกรณี (Case Study)
- สังคมสัมพันธ์ (Sociogram)
- ระเบียนสะสม (Cumulative Record)
- มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)
- อัตชีวประวัติ (Autobiography)
- แบบสอบถาม (Questionnaire)
- การสัมภาษณ์ (Interviewing)
- การศึกษาเป็นรายกรณี (Case Study)
- สังคมสัมพันธ์ (Sociogram)
- ระเบียนสะสม (Cumulative Record)
2.เทคนิคการทดสอบ (Test techniques) ได้แก่
การใช้แบบทดสอบต่างๆ การรวมรวบข้อมูลทั้งสองวิธีนี้ วิธีแรก คือ วิธีการที่ไม่ใช่การทดสอบได้รับความนิยมมากกว่าวิธีการที่สอง คือ วิธีการทดสอบ เพราะวิธีการทดสอบมีข้อจำกัดมากกว่า
เครื่องมือทางจิตวิทยาการแนะแนว
เทคนิควิธีทดสอบ (Testing Techniques)เป็นเครื่องมือที่เป็นแบบทดสอบ(Testing) ซึ่งมีความเป็นปรนัย(Objective)
และเป็นมาตรฐาน(Standardization) ในการวัดและประเมินลักษณะในด้านต่างๆของบุคคล
เทคนิควิธีการทดสอบ
- แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา (Intelligence Test)
- แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ (Achievement Test)
- แบบสำรวจความสนใจ (Interest Inventory)
- แบบทดสอบความถนัด (Aptitude Test)
- แบบทดสอบบุคลิกภาพ (Personality Test)
หลักการในการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไปใช้
1. ควรคำนึงถึงความเป็นปัจจุบันของข้อมูลที่จะนำมาใช้
2. การวิเคราะห์ข้อมูลจากเทคนิคและเครื่องมือบางชนิดจำเป็น ต้องอาศัยผู้ที่มีความชำนาญ และเคยได้รับการฝึกมาแล้ว
3. การเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของผู้เรียนจำเป็นต้องเป็นความลับ
4. ควรจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยในการค้นหาและนำมาใช้ได้ง่าย
4. ควรจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยในการค้นหาและนำมาใช้ได้ง่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น