การบริหารงานแนะแนว
ความหมายการบริหารงานแนะแนว
เป็นการจัดการเพื่อให้การจัดกิจกรรมแนะแนว
การจัดบริการแนะแนว และการพัฒนาวิชาการแนะแนว
ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
ในการดำรงชีวิตด้านการศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคม
กระทรวงศึกษาธิการ
ได้กำหนดขอบข่ายการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนประถมศึกษา มี 5 บริการ คือ
1. บริการศึกษาและรวบรวมข้อมูล
2. บริการให้คำปรึกษา
3. บริการสนเทศ
4. บริการจัดวางตัวบุคคล
5. บริการติดตามผลและประเมินผล
องค์ประกอบสนับสนุนการบริหารงานแนะแนว
ด้านปัจจัย
1)ประเภทบุคคล/องค์กร
- ผู้เกี่ยวข้อ
- เครือข่ายการแนะแนว
2)ประเภทวิธีการ
- โครงสร้างการบริหารงานแนะแนว
- การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม
- การประสานสัมพันธ์
3)ประเภทสิ่งอำนวยความสะดวก
- วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน
- ห้องแนะแนวและห้องให้การปรึกษา เครื่องมือ ระเบียนสะสม
แบบทดสอบ
- งบประมาณ
ด้านกระบวนการ
- การจัดกิจกรรมแนะแนว
- การจัดบริการแนะแนว
- การส่งต่อนักเรียน
ด้านผลผลิต
- สมรรถนะสำคัญ
- คุณลักษณะอันพึงประสงค์
- วัตถุประสงค์ของการแนะแนว
- คุณภาพของผู้เรียนตามที่สถานศึกษากำหนด
โดยมีรายละเอียดพอสังเขป
คือ
1.บริการรวบรวมข้อมูลและศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล
หมายถึง การศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนด้านการศึกษา อาชีพ
บุคลิกภาพ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และจัดระบบแล้ว
จะทำให้ครูรู้จักนักเรียน และสามารถให้ความช่วยเหลือ
ส่งเสริมและพัฒนาได้อย่างถูกต้อง ทั้งสามารถช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจตนเองและยอมรับตนเองอีกด้วย
เป็นบริการที่จำเป็นพื้นฐานในการที่จะให้ความช่วยเหลือนักเรียนได้ถูกต้อง
เพราะจะทำให้ได้ทราบปัญหา หรือ ข้อบกพร่องในตัวนักเรียน
เพื่อดำเนินการแก้ไขได้ถูกต้องและนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาเป็นองค์ประกอบในการจัดบริการอื่น
ๆ ต่อไป งานบริการด้านนี้ได้แก่
-
บันทึกประวัตินักเรียนทุกคนไว้ในระเบียนสะสมบริการข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
-
ทดสอบความถนัด ความสนใจของนักเรียน
-
สำรวจพฤติกรรมที่มีปัญหาของนักเรียน
2.บริการให้คำปรึกษา
หมายถึง การให้ความช่วยเหลือ ความใกล้ชิด ความอบอุ่น ความมั่นใจ
อันจะช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจและเลือกได้อย่างฉลาด ถูกต้อง
เหมาะสมกับสภาพปัญหาความต้องการ เป็นบริการที่นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของงานแนะแนว
โดยเฉพาะการเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่ และในสภาวะเศรษฐกิจและสังคมยุคปัจจุบัน
งานบริการในด้านนี้ คือ
-
ให้คำปรึกษานักเรียนที่มีปัญหาด้านส่วนตัว การเรียน และอาชีพ
- ศึกษาและหาทางช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
-
เสนอแนะแนวทางปฏิบัติตน เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ
3.บริการสนเทศ
หมายถึง การให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนา
เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต่อเนื่องจากบริการศึกษาและรวบรวมข้อมูล อันจะช่วยให้นักเรียนได้รับข้อมูล
ข่าวสาร ความรู้ที่ตรงกับความต้องการในการส่งเสริม พัฒนา
ตลอดจนแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม เป็นบริการให้ความรู้แก่นักเรียนในหลายรูปแบบ
เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถ
ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง
ๆ ได้ รู้จักตัดสินใจ และวางแผนอนาคตอย่างฉลาด ได้แก่
- การจัดสอนให้ความรู้ต่าง ๆ ในคาบกิจกรรมแนะแนว
- การจัดป้ายนิเทศ
- การจัดทำเอกสารที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียน
- การจัดอภิปราย บรรยาย
ให้ความรู้ในด้านการศึกษาอาชีพ และการปรับตัวในสังคม
- การจัดวันอาชีพ
- การจัดสัปดาห์แนะแนวทางศึกษาต่อ
- การจัดฉายภาพยนต์ วีดีโอ
สไลด์ที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
- จัดปฐมนิเทศ
และปัจฉิมนิเทศ
4. บริการจัดวางตัวบุคคล หมายถึง
การให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง หรือฝึกฝนทักษะในเรื่องที่ตนสนใจ
การจัดบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนกิจกรรมให้ นักเรียนได้รับประสบการณ์ดังกล่าวนั้น
โดยจัดให้สอดคล้อง ต่อเนื่องกับกระบวนการเรียนการสอน
ทั้งสอดคล้องกับผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล ความสนใจ ความต้องการ
5. บริการติดตามประเมินผล หมายถึง
การปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องจากบริการต่าง ๆ ที่กำหนด เพื่อติดตาม
ดูแลว่านักเรียนมีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง แก้ไข พัฒนา ตลอดจนติดตามการจัดกิจการต่าง
ๆ ว่าสัมฤทธิ์ผลเพียงใด มีสิ่งใดต้องปรับปรุงให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
การติดตามผลจะช่วยให้ปฏิบัติงานได้เรียนรู้ถึงจุดอ่อนและข้อบกพร่อง
อันควรปรับปรุงส่งเสริมในบริการแนะแนว และได้ข้อคิดแนวทางอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่อไปให้ถูกกต้อง
และบรรลุถึงวัตถุประสงค์ได้ดีขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น