การวิจัยและติดตามผล
ครูแนะแนวทุกคนมีบทบาทหน้าที่ที่จะผลิตความรู้ในการเรียนการสอนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและใช้ความรู้พื้นฐานด้านจิตวิทยาที่ผู้อื่นค้นพบ
ไปจัดบริการแนะแนวแบบต่างๆ
ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดความสำคัญของการวิจัยในงานแนะแนว
การวิจัยเป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าหาความจริงอย่างเป็นระบบ
เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจช่วยในการแก้ปัญหา ปรับปรุงพัฒนางานหรือบุคคล
การวิจัยจึงเป็นหนึ่งในวิธีการติดตามผลอย่าง มีประสิทธิภาพ และได้ข้อมูลน่าเชื่อถือ
ที่จะใช้ประโยชน์ได้
แก่ผู้รับบริการ
ทำให้ครูแนะแนวต้องทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ผลิตงานวิจัยด้วยตนเองและใช้ผลงานวิจัยทั้งของตนเองและของผู้อื่นเป็น
จึงจะได้ความรู้ทันการเปลี่ยนแปลงยุคสมัยและบุคคล
นับได้ว่าการวิจัยเป็นส่วนสำคัญใน
การพัฒนางานแนะแนวทุกบริการทุกระยะเวลาอย่างต่อเนื่อง
การบริการติดตามผล
การติดตามผลและการวิจัย(Follow – up and research) เป็นการศึกษาหรือติดตามผล
เพื่อช่ายให้โรงเรียนได้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและบริการแนะแนวที่โรงเรียนให้แก่เด็กได้ผลเป็นอย่างไร
สามารถประเมินผลงานที่ได้กระทำไปแล้วว่าสามารถช่วยให้เด็กได้พัฒนาขึ้นในด้านต่างๆเพียงใด
เช่น อาจพบว่าเด็กตัดสินใจเลือกการเรียนผิด ก็อาจช่วยแก้ไขได้ทันท่วงที
การติดตามผลจะช่วยให้ปฏิบัติงานได้เรียนรู้ถึงจุดอ่อนและข้อบกพร่อง
อันควรปรับปรุงส่งเสริมในบริการแนะแนว
และได้ข้อคิดแนวทางอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่อไปให้ถูกกต้อง
และบรรลุถึงวัตถุประสงค์ได้ดีขึ้น
การติดตามผลและการวิจัยในกิจการแนะแนวอาจจำแนกออกเป็น 4 ประเภทคือ
1. การติดตามผลและการวิจัยนักเรีนผู้ได้รับการแนะแนว
เมื่อได้มีการแนะแนวไปแล้ว ครุและผู้แนะแนวควรต้องคิดตาม เพื่อทราบผลของการแนะแนว เพื่อประโยชน์ต่อไปนี้
- เพื่อตรวจสอบดูว่านีกเรียนได้ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้จากการแนะแนวหรือไม่เพียงไร
และผลที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร
- เพื่อรวบนรวมข้อมูลอันอาจเป็นประโยชน์ต่อการให้คำปรึกษาแนะแนวในโอกาสต่อไป
และบันทึกเข้าระเบียนสะสม
-เพื่อช่วยให้การให้คำปรึกษาหรือการแนะแนวได้เป็นไปอย่างถูกต้องและได้ผลดี
2. การติกตามผลและการวิจัยนักเรีนยบางคนหรือบางประเภทเป็นกรณีพิเศษ
เช่น ผู้ที่มีภาวะผิดปกติทางจิต จนต้องมีการรักษาพยาบาลโดยจิตแพทย์
เพื่อจะได้ประเมินดูว่า การบำบะดนั้นมีผลดีต่อนักเรียนเพียงใด
ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติต่อไปได้ถูกต้อง เหมาะสมยิ่งขึ้น
3. การติดตามผลและการวิจัยนักเรียนที่อยู่ในชั้นหรือระดับการศึกษาที่สูง
เช่น เด็กที่เลื่อนจากชั้น ม.3 ไปชั้น ม.4 หรือจากระดับการศึกษาที่สูงขึ้น จากระดับมัธยมศึกษาไประดับวิทยาลัย
หรืออุดมศึกษา เพื่อจะได้ศึกษาพัฒนาการของนักเรียนโดยติดต่อกัน
เป็นการช่วยให้รู้จักนักเรียนเป็นอย่างดี และจะได้ทราบผลและประสิทธิภาพของหลักสูตร
วิธีสอน ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆใน โรงเรียน เพื่อจะได้พิจาณาปรับปรุง
ส่งเสริมหลักสูตร วิธีการสอน ตลอดจนงานแนะแนวต่าง
ๆในโรงเรียนให้มีคุณค่ายิ่งขึ้นต่อพัฒนาการของนักเรียน
4. การศึกษาติดตามผลและการวิจัยนักเรียนเก่าซึ่งออกจากโรงเรียนไปแล้ว
ทั้งผู้เรียนสำเร็จตามหลักสูตร และผู้ไม่สำเร็จตามหลักสูตร
เพื่อรวบรวมข้อมูลทั่วไปที่จะทำให้สามารถประเมินผลและการวิจัยของการบริการแนะแนว
และงานด้ามการศึกษาทั่วไปของโรงเรียน
นักเรียนที่ควรติดตามผล
คือ นักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนตามปกติ นักเรียนที่มีปัญหาเป็นพิเศษ และนักเรียนที่ออกจากโรงเรียนไปแล้ว สำหรับนักเรียนเก่านี้นักเรียนถือว่าความรับผิดชอบจะไม่สิ้นสุดเมื่อนักเรียนจบการศึกษาเท่านั้น แต่โรงเรียนควรมีการติดต่อให้ความช่วยเหลือสนับสนุนต่อไปเรื่อยๆเหมือนกับนายแพทย์ที่ต้องตรวจสอบคนไข้เป็นระยะๆ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยโรคและให้การเยียวยา
คือ นักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนตามปกติ นักเรียนที่มีปัญหาเป็นพิเศษ และนักเรียนที่ออกจากโรงเรียนไปแล้ว สำหรับนักเรียนเก่านี้นักเรียนถือว่าความรับผิดชอบจะไม่สิ้นสุดเมื่อนักเรียนจบการศึกษาเท่านั้น แต่โรงเรียนควรมีการติดต่อให้ความช่วยเหลือสนับสนุนต่อไปเรื่อยๆเหมือนกับนายแพทย์ที่ต้องตรวจสอบคนไข้เป็นระยะๆ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยโรคและให้การเยียวยา
วิธีการต่างๆ
ในการติดตามผลและการวิจัย
- โดยการสัมภาษณ์สอบถามบุคคลผู้มีความสัมพันธ์
หรือมีความรู้จักคุ้นเคยใกล้ชิดกับนักเรียนที่ต้องการติดตามผล ซึ่งอาจได้แก่
บิดามารดา ผู้ปกครอง ญาติพี่น้องหรือรู้จักคุ้นเคยอื่นๆ เช่น
นายจ้างที่เด็กไปทำงานอยู่ เป็นต้น
- โดยการสังเกต
พิจารณาอย่างใกล้ชิด และละเอียดรอบคอบในพฤติกรรมของนักเรียนที่ต้องการติดตามผล
-โดยการสัมภาษณ์
สอบถามเด็กที่คิดว่าต้องติดตามผลโดยตรง
-โดยการทำสังคมมิติในกรณีเกี่ยวกับการปรับปรุงตนทางสังคม
หรือโดยการใช้แบบทดสอบชนิดต่างๆ ตามแต่กรณี ทำการสอบ “ก่อน” และ “หลัง” การแนะแนว
หรือปฏิบัติการใดๆ ที่กระทำต่อนักเรียนเป็นเครื่องวินิจฉัยผล
-โดยการศึกษาพิจารณารายกรณี (Case
study) และการประชุมปรึกษารายกรณี (Case
conference) ของผู้ปฏิบัติงานและผู้เชี่ยวชาญร่วมกัน
-โดยการเปิดอภิปรายทั่วไปในหมู่นักเรียนและในหมู่ครู
ตลอดจนผู้ปกครองเพราะบุคคลเหล่านี้มีส่วนช่วยในการวางแผนการของโรงเรียนในขั้นต่อไปได้
-โดยการพูดวิจารณ์หรืออภิปรายของนักเรียน
และผู้ที่ออกจากโรงเรียนไปแล้วตลอดจนข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงสิ่งบกพร่อง
-โดยการสำรวจ
ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสอบถามก็ย่อมได้
-โดยทำการทดสอบวัด
เช่น วัดบุคลิกภาพ วัดการสร้างมนุษยสัมพันธ์ เป็นต้น
ข้อมูลที่ควรติดตามเพื่อใช้ประโยชน์
ในการแนะแนวมีหลายประการคือ การศึกษาต่อ อาชีพที่ทำ ความสำเร็จทางด้านการศึกษา
และอาชีพที่ทำ สิ่งที่นักเรียนเสนอแนะให้โรงเรียนทำ
การจัดโครงการติดตามผลจะเริ่มตั้งแต่คณะกรรมการดำเนินงาน
การกำหนดจุดมุ่งหมาย กำหนดขอบเขตของงาน การเตรียมอุปกรณ์
การขอความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น การดำเนินงานตามโครงการ
ไปจนถึงการประเมินผลงานที่ได้จากการติดตามผลงานนักเรียน
งานวิจัยเกี่ยวกับการแนะแนวในประเทศไทย
การวิจัย
เป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ และเป็นขั้นตอนของการหาข้อเท็จจริง
โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ แล้วนำมาวิเคราะห์อย่างมีระบบ ยึดหลักการจึงสรุปเป็นข้อเท็จจริง
ประโยชน์ของการทำวิจัย
ผลงานวิจัยช่วยทำให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดบริการแนะแนวในด้านการศึกษา
แนะแนวอาชีพ และแนะแนวส่วนตัวและสังคม
ว่ามีความต้องการบริการในด้านการเก็บรวบรวมข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล บริการสนเทศ
บริการให้คำปรึกษาบริการจัดวางตัวบุคคล หรือบริการติดตามแผลและการวิจัย
เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายหรือแก้ปัญหาในการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน
หรือทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดบริหการเกี่ยวกับการแนะแนว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น