วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การบริหารงานแนะแนว


การบริหารงานแนะแนว

ความหมายการบริหารงานแนะแนว
เป็นการจัดการเพื่อให้การจัดกิจกรรมแนะแนว การจัดบริการแนะแนว และการพัฒนาวิชาการแนะแนว ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน ในการดำรงชีวิตด้านการศึกษา อาชีพ ส่วนตัวและสังคม
กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดขอบข่ายการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนประถมศึกษา มี 5 บริการ คือ 
1. บริการศึกษาและรวบรวมข้อมูล 
2. บริการให้คำปรึกษา 
3. บริการสนเทศ 
4. บริการจัดวางตัวบุคคล 
5. บริการติดตามผลและประเมินผล

องค์ประกอบสนับสนุนการบริหารงานแนะแนว
   ด้านปัจจัย
1)ประเภทบุคคล/องค์กร   
         -  ผู้เกี่ยวข้อ
         -  เครือข่ายการแนะแนว
 2)ประเภทวิธีการ        
         - โครงสร้างการบริหารงานแนะแนว 
         - การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม
         - การประสานสัมพันธ์ 
 3)ประเภทสิ่งอำนวยความสะดวก
         - วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้สำนักงาน
         - ห้องแนะแนวและห้องให้การปรึกษา เครื่องมือ ระเบียนสะสม แบบทดสอบ
         - งบประมาณ
     ด้านกระบวนการ  
         - การจัดกิจกรรมแนะแนว
         - การจัดบริการแนะแนว
         - การส่งต่อนักเรียน
     ด้านผลผลิต  
         - สมรรถนะสำคัญ
         - คุณลักษณะอันพึงประสงค์
         - วัตถุประสงค์ของการแนะแนว
         - คุณภาพของผู้เรียนตามที่สถานศึกษากำหนด

โดยมีรายละเอียดพอสังเขป คือ
1.บริการรวบรวมข้อมูลและศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล หมายถึง การศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนด้านการศึกษา อาชีพ บุคลิกภาพ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และจัดระบบแล้ว จะทำให้ครูรู้จักนักเรียน และสามารถให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมและพัฒนาได้อย่างถูกต้อง ทั้งสามารถช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจตนเองและยอมรับตนเองอีกด้วย เป็นบริการที่จำเป็นพื้นฐานในการที่จะให้ความช่วยเหลือนักเรียนได้ถูกต้อง เพราะจะทำให้ได้ทราบปัญหา หรือ ข้อบกพร่องในตัวนักเรียน เพื่อดำเนินการแก้ไขได้ถูกต้องและนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาเป็นองค์ประกอบในการจัดบริการอื่น ๆ ต่อไป งานบริการด้านนี้ได้แก่
      - บันทึกประวัตินักเรียนทุกคนไว้ในระเบียนสะสมบริการข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
      - ทดสอบความถนัด ความสนใจของนักเรียน
      - สำรวจพฤติกรรมที่มีปัญหาของนักเรียน
2.บริการให้คำปรึกษา หมายถึง การให้ความช่วยเหลือ ความใกล้ชิด ความอบอุ่น ความมั่นใจ อันจะช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจและเลือกได้อย่างฉลาด ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพปัญหาความต้องการ เป็นบริการที่นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของงานแนะแนว โดยเฉพาะการเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่ และในสภาวะเศรษฐกิจและสังคมยุคปัจจุบัน งานบริการในด้านนี้ คือ
      - ให้คำปรึกษานักเรียนที่มีปัญหาด้านส่วนตัว การเรียน และอาชีพ
      - ศึกษาและหาทางช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
      - เสนอแนะแนวทางปฏิบัติตน เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ
3.บริการสนเทศ หมายถึง การให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนา เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต่อเนื่องจากบริการศึกษาและรวบรวมข้อมูล อันจะช่วยให้นักเรียนได้รับข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ที่ตรงกับความต้องการในการส่งเสริม พัฒนา ตลอดจนแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม เป็นบริการให้ความรู้แก่นักเรียนในหลายรูปแบบ เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถ
ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ รู้จักตัดสินใจ และวางแผนอนาคตอย่างฉลาด ได้แก่
    - การจัดสอนให้ความรู้ต่าง ๆ ในคาบกิจกรรมแนะแนว
    - การจัดป้ายนิเทศ
    - การจัดทำเอกสารที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียน
    - การจัดอภิปราย บรรยาย ให้ความรู้ในด้านการศึกษาอาชีพ และการปรับตัวในสังคม
    - การจัดวันอาชีพ
    - การจัดสัปดาห์แนะแนวทางศึกษาต่อ
    - การจัดฉายภาพยนต์ วีดีโอ สไลด์ที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
    - จัดปฐมนิเทศ และปัจฉิมนิเทศ
4. บริการจัดวางตัวบุคคล หมายถึง การให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง หรือฝึกฝนทักษะในเรื่องที่ตนสนใจ การจัดบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนกิจกรรมให้ นักเรียนได้รับประสบการณ์ดังกล่าวนั้น โดยจัดให้สอดคล้อง ต่อเนื่องกับกระบวนการเรียนการสอน ทั้งสอดคล้องกับผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล ความสนใจ ความต้องการ
5. บริการติดตามประเมินผล หมายถึง การปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องจากบริการต่าง ๆ ที่กำหนด เพื่อติดตาม ดูแลว่านักเรียนมีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง แก้ไข พัฒนา ตลอดจนติดตามการจัดกิจการต่าง ๆ ว่าสัมฤทธิ์ผลเพียงใด มีสิ่งใดต้องปรับปรุงให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น การติดตามผลจะช่วยให้ปฏิบัติงานได้เรียนรู้ถึงจุดอ่อนและข้อบกพร่อง อันควรปรับปรุงส่งเสริมในบริการแนะแนว และได้ข้อคิดแนวทางอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานต่อไปให้ถูกกต้อง และบรรลุถึงวัตถุประสงค์ได้ดีขึ้น


คุณสมบัติของครูแนะแนว


คุณสมบัติของครูแนะแนว
งานแนะแนวเป็นวิชาชีพ ซึ่งผู้ประกอบวิชานี้จำเป็นจะต้องเป็นผู้ได้รับการศึกษา ฝึกฝนอบรมมาโดยเฉพาะจึงจะสามารถทำงานแนะแนวให้บังเกิดผลดีมีประสิทธิภาพ เกี่ยวกับคุณสมบัติของครูแนะแนวนั้น กรมวิชาการ ได้กำหนดไว้ว่าอย่างน้อยควรจะมี 3 ประการ คือ วุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการแนะแนว และคุณสมบัติบางประการที่จำเป็น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
วุฒิทางการศึกษา มีวุฒิอย่างน้อยปริญญาตรีและได้รับการศึกษาอบรมทางด้านการแนะแนวหรือจิตวิทยาโดยเฉพาะ หรือได้รับการอบรมวิชาการแนะแนวตามหลักการที่คณะกรรมการแนะแนวการศึกษาและอาชีพของกระทรวงศึกษาธิการได้วางไว้ ต้องมี ประสบการณ์ความ เป็นครูอย่างน้อย 5 ปี และไม่เคยปฏิบัติงานแนะแนวมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีและได้สอนนักเรียนมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี ในระดับชั้นการศึกษาที่ทำหน้าที่แนะแนว

คุณสมบัติของครูแนะแนวแบ่งออกเป็น 7 ด้าน
1.ด้านบุคลิกลักษณะที่สำคัญของครูแนะแนว
                - สุขภาพ อ่อนโยน
                - มีความพร้อม และกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือนักเรียน
                - มีความมั่นคงทางอารมณ์
                - ใจกว้าง เปิดรับข้อมูลจากนักเรียน รับฟังความคิดเห็น
                - แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
                - มีความเชื่อมั่นในตนเอง สุขุม ละเอียดรอบคอบ
                - บุคลิกภาพดี ผู้อื่นรู้สึกอยากเข้าใกล้ ไว้วางใจ
  2.ด้านมนุษยสัมพันธ์
                - มีความเป็นกันเอง
                - ร่วมงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
                - เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
                - ให้เกียรติและยอมรับผู้อื่น
                - เข้าใจ เอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจ
                - ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
                - ไวต่อความต้องการและความรู้สึกของผู้อื่น
                - มีศิลปะการพูดและการฟัง
   3. ด้านความเป็นผู้นำ
                - มีความเสียสละ
                - มีความรับผิดชอบ
                - มีความเป็นประชาธิปไตย
                - ใฝ่หาความรู้
                - คิดริเริ่ม
                - กล้าแสดงความคิดเห็น
                - สื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                - ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   4. ด้านคุณธรรมและความประพฤติ
                - ซื่อสัตย์ สุจริต
                - ยุติธรรม
                - รักษาความลับ
                - มีหลักการและอุดมคติ
                - มีคุณธรรมและจริยธรรม
                - ยึดหลักความถูกต้อง
                - เป็นแบบอย่างที่ดีงาม
   5. ด้านการดำเนินชีวิต
                - มีความพึงพอใจในตนเอง ครอบครัว และอาชีพ
                - มีความรู้ความเข้าใจในงาน
                - เป็นผู้ทันเหตุการณ์
                - มีความยืดหยุ่น
  6. ด้านการจัดกิจกรรมแนะแนว (การสอน)
                - รู้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลระบบการศึกษา และอาชีพ
                - รู้กลวิธีการแนะแนว (เช่น กิจกรรมกลุ่ม)
                - รู้ด้านจิตวิทยา
                - มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัย และการทดสอบ
                - รู้จรรยาบรรณ และหน้าที่ชองครู
  7. ด้านทักษะการแนะแนว
                - ทักษะในการเก็บข้อมูลรายบุคคล 
                –การใช้เครื่องมือต่างๆ
                - การบริการสนเทศ 
                – การจัดหาข่าวสาร การถ่ายทอดข่าวสาร
                - การให้คำปรึกษา
                - การจัดวางตัวบุคคล
                - การประเมินผล และติดตามผล
                - การประชาสัมพันธ์

คุณสมบัติที่จำเป็น
                1.   มีความสนใจเรื่องการแนะแนว
                2.   มีความสนใจทุกข์สุขของนักเรียน
                3.   มีความเข้าใจเรื่องการสอนการเรียน และทำการสอนได้ผลดีมาแล้ว
                4.   มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตมาแล้วพอสมควร
                5.   มีความรู้เกี่ยวกับภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม ทันต่อเหตุการณ์เสมอ
                6.   ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม เช่นยุติธรรม มีขันติ มีความจริงใจ รักษาความลับและไว้วางใจได้
                7.   มีความสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย
                8.   มีบุคลิกภาพดีเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ที่ติดต่อด้วยนักเรียนเกิดความรู้สึกไว้วางใจ
                9.   ไวต่อความต้องการและความรู้สึกของคนอื่น สามารถเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น
               10.  มีศิลปะในการพูด การฟัง อันจะทำให้การแนะแนวบรรลุผลตามความมุ่งหมาย
               11.  มีสุขภาพแข็งแรงและสุขภาพจิตดี
               12.  มีอารมณ์มั่นคงและมีอารมณ์ขัน      

จรรยาบรรณวิชาชีพจิตวิทยาการแนะแนว

                -ให้บริการด้วยความเต็มใจโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
                -ยอมรับและศรัทธาในวิชาชีพจิตวิทยาการแนะแนวและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร
                -เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ผู้รับบริการ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยเสมอหน้า
                -มีวิสัยทัศน์และพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
                -ปฏิบัติงานตามหลักวิชาชีพจิตวิทยาการแนะแนว
                -รักษามาตรฐานและรับผิดชอบต่อการประกอบวิชาชีพจิตวิทยาการแนะแนว
                -ยุติการให้บริการที่นอกเหนือความสามารถของตนและส่งต่อไปยังบุคคลที่เหมาะสม
        -รักษาความลับขอผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง
        -เคารพสิทธิและไม่แสวงหาผลประโยชน์จากผู้รับบริการ
  
ลักษณะของครูแนะแนวยุคใหม่
       -คิดเชิงสร้างสรรค์และเรียนรู้ต่อเนื่อง
            -คิดเชิงธุรกิจและทำงานเชิงรุก
            -สามารถสร้างเครือข่ายการทำงาน
            -ทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์วัดผลงานได้ชัดเจน
            -ทำงานอย่างมืออาชีพ
            -และเป็นผู้ปฏิบัติที่ทรงความรู้(knowledge worker)
            -ทำงานด้วย
            -ความรับผิดชอบและโปร่งใส
            -มีทักษะหลายด้าน
            -มีจริยธรรมและ จรรยาบรรณในวิชาชีพ
            -มีความสามารถ
            -ในการทำงานเป็นทีมคุณสมบัติของครูแนะแนว



















บริการศึกษารวบรวมข้อมูล





บริการศึกษารวบรวมข้อมูล
เป็นบริการศึกษาให้รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์เด็กในการทำความเข้าใจเด็กให้ดีขึ้น และช่วยให้เขาได้รู้จักตัวของเขาเอง อันจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงตนเองต่อไป

เทคนิคในการรวบรวมข้อมูลมี 2 วิธี คือ
1.เทคนิคที่ไม่ใช่การทดสอบ (Non-test techniques) ได้แก่
           -การสังเกต (Observation)
           -
 มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale)
           -
 อัตชีวประวัติ (Autobiography)
           -
 แบบสอบถาม (Questionnaire)
           -
 การสัมภาษณ์ (Interviewing)
           -
 การศึกษาเป็นรายกรณี (Case Study)
           -
 สังคมสัมพันธ์ (Sociogram)
           -
 ระเบียนสะสม (Cumulative Record)
2.เทคนิคการทดสอบ (Test techniques) ได้แก่
การใช้แบบทดสอบต่างๆ การรวมรวบข้อมูลทั้งสองวิธีนี้ วิธีแรก คือ วิธีการที่ไม่ใช่การทดสอบได้รับความนิยมมากกว่าวิธีการที่สอง คือ วิธีการทดสอบ เพราะวิธีการทดสอบมีข้อจำกัดมากกว่า 
เครื่องมือทางจิตวิทยาการแนะแนว
          
                    เทคนิควิธีทดสอบ (Testing Techniques)เป็นเครื่องมือที่เป็นแบบทดสอบ(Testing) ซึ่งมีความเป็นปรนัย(Objective) 
            และเป็นมาตรฐาน(Standardization) ในการวัดและประเมินลักษณะในด้านต่างๆของบุคคล
           เทคนิควิธีการทดสอบ
แบบทดสอบเชาวน์ปัญญา (Intelligence  Test)
            - แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ (Achievement  Test)
            - แบบสำรวจความสนใจ (Interest  Inventory)
            - แบบทดสอบความถนัด (Aptitude  Test)
            - แบบทดสอบบุคลิกภาพ (Personality  Test)
         
           หลักการในการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไปใช้ 
            1. ควรคำนึงถึงความเป็นปัจจุบันของข้อมูลที่จะนำมาใช้
            2. การวิเคราะห์ข้อมูลจากเทคนิคและเครื่องมือบางชนิดจำเป็น ต้องอาศัยผู้ที่มีความชำนาญ และเคยได้รับการฝึกมาแล้ว
            3. การเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของผู้เรียนจำเป็นต้องเป็นความลับ
4. ควรจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อช่วยในการค้นหาและนำมาใช้ได้ง่าย

บริการสารสนเทศ


บริการสารสนเทศ
บริการสารสนเทศ (Information service) เป็นการบริการที่จัดทำขึ้น เพื่อให้ความรู้ รายละเอียด และข้อเท็จจริงในด้านต่างๆ แก่นักเรียน นอกเหนือไปจากวิชาสามัญที่เรียนตามหลักสูตรนักเรียนจะได้ใช้เป็นแนวทางประกอบการพิจารณาเลือกตัดสินใจ วางโครงการศึกษา อาชีพ และวางแนวดำเนินชีวิต ทำให้สามารถปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และสภาพการณ์ต่างๆ ได้เหมาะสมยิ่งขึ้น

ข้อสนเทศต่างๆ แบ่งได้ออกเป็น 3 ประเภท คือ
1.ข้อสนเทศทางการศึกษา
2.ข้อสนเทศทางด้านอาชีพ
3.ข้อสนเทศทางด้านส่วนตัวและสังคม

จุดมุ่งหมายของบริการสารสนเทศ
1.เพื่อสร้างความสนใจให้เกิดขึ้นแก่เด็กในด้านโลกแห่งการทำงานและในกิจกรรมต่าง ๆ
2.เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้พินิจพิจารณาอย่างละเอียดในโอกาสต่างๆ ทางการศึกษาและทางอาชีพที่เปิดให้เขาเลือกได้
3.เพื่อจัดประสบการณ์และบรรยากาศเหมาะสมให้กับเด็กเพื่อสร้างเจตคติที่ถูกต้องต่องานทุกอย่างที่มีประโยชน์ต่ออาชีพได้      
4.ช่วยให้เด็กได้ตัดสินใจอย่างฉลาดเกี่ยวกับประสบการณ์ทางการศึกษา เพื่อจะนำไปสู่การพัฒนาตนเองในอนาคต
5.จัดให้ประสบการณ์ที่จะสนับสนุนการเรียนการสอนและประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์ต่อกระบวนการศึกษาทั้งหมด
6.ช่วยส่งเสริมความเข้าใจในตนเองของเด็กซึ่งจะนำไปสู่การเข้าใจ และเห็นคุณค่าในบุคคลอื่นได้ดีขึ้น
        
การจัดบริการสนเทศนั้นให้ประโยชน์ทั้งตัวนักเรียน ครู และผู้ปกครอง กิจกรรมที่จัดในบริการสนเทศมีมากมาย เช่น การจัดปฐมนิเทศ ปัจฉิมนิเทศ การเชิญวิทยากร การจัดนิทรรศการ การจัดวันงานอาชีพ และวันงานอดิเรก การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การจัดกิจกรรมประจำชั้น แหล่งสนเทศ หรือสถานที่ที่เราจะไปหาข้อมูล มีหลายแห่ง เช่น สถาบันศึกษาต่างๆ ศูนย์แนะแนวการศึกษาและอาชีพ ศูนย์สุขวิทยาจิต สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา เป็นต้น แหล่งต่างๆ เหล่านี้จะมีทั้งสิ่งตีพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร รายงานการประชุม เป็นต้น และสิ่งที่ไม่ตีพิมพ์ เช่น ภาพถ่าย ภาพจำลอง ภาพสไลด์ หุ่นจำลอง ของจริง เป็นต้น

ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการแนะแนว
       อินเตอร์เน็ท (internet)
           - จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail)
                       - เว็บไซต์ (website)
                       - แผ่นภาพเลื่อน (PowerPoint)
                       - การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-learning)
                       - หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book)
      
             คุณลักษณะของสารสนเทศทางการแนะแนว
                       ความถูกต้อง (accuracy)
                        - ทันเวลาใช้ (timeliness)
                        - ความสมบูรณ์ (completeness)
                        - ความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance)
                        - ตรวจสอบได้ (verifiability)
  

การจัดกิจกรรม


การจัดกิจกรรม

การจัดกิจกรรมแนะแนว 
เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมายวางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียนและอาชีพ สามารถปรับตน ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน
สถานศึกษาต้องบริหารจัดการให้บุคลากรที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่และมีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามจุดหมายของหลักสูตร และมาตรฐานการแนะแนวด้านผู้เรียนโดยจัดเวลาให้เป็นไปตามสัดส่วนของการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในแต่ละช่วงชั้น รวมทั้งจัดบริการและกิจกรรมนอกห้องเรียนให้ครอบคลุมทั้ง 5 งาน และมีกิจกรรมอย่างน้อย 9 กิจกรรม ตามแนวการจัดกิจกรรมแนะแนว ดังนี้

การจัดกิจกรรมแนะแนว มีภาระงาน 2 ลักษณะคือ
1.การจัดบริการแนะแนว
2.การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน

วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมแนะแนว
-เพื่อให้ผู้เรียนรู้จัก เข้าใจ รักและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
-เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางแผนการศึกษาอาชีพ รวมทั้งส่วนตัวและสังคม
-เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวได้อย่างเหมาะสมและอยู่ร่วมกับผู้อื่น ได้อย่างมีความสุข 

มาตรฐานแนะแนวกิจกรรม
มาตรฐานที่ 1รู้จักเข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น หมายถึง มีความสามารถในการรู้จัก  และเข้าใจ ตนเองทั้งในด้านความถนัด ความสนใจ ความสามารถ จุดเด่น จุดด้อย นิสัย อารมณ์  ความภูมิใจ และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น
มาตรฐานที่ 2 มีความสามารถในการแสวงหาและใช้ข้อมูลสารสนเทศ หมายถึง  มีทักษะ และวิธีการในการแสวงหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ รวบรวม และจัดระเบียบข้อมูล สามารถจัดระบบกลั่นกรองเลือกใช้ข้อมูลอย่างฉลาดเหมาะสม และเห็นคุณค่าในการใช้ข้อมูลสารสนเทศ
มาตรฐานที่ 3 มีความสามารถในการตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม หมายถึง สามารถกำหนดเป้าหมาย วางแผน วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผล ตลอดจนปรับปรุงแผนการดำเนินงานโดยใช้ข้อมูล คุณธรรม และจริยธรรมเป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ
 มาตรฐานที่ 4 มีความสามารถในการปรับตัวและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข  หมายถึง การเข้าใจ ยอมรับตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์แสดงออกอย่างเหมาะสม  มีมนุษยสัมพันธ์ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

แนวทางการจัดกิจกรรม
1.ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการ ความสนใจ ธรรมชาติของผู้เรียน
2.วิเคราะห์สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
3.กำหนดสัดส่วนของกิจกรรมแนะแนวให้ครอบคลุมด้านการศึกษา ด้านอาชีพด้านส่วนตัวและสังคม โดยยึดสภาพปัญหา ความต้องการ ความสนใจ ตลอดจนธรรมชาติของผู้เรียนและเป้าหมายของสถานศึกษา โดยครู ผู้ปกครอง และผู้เรียนมีส่วนร่วม
4.กำหนดวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมแนะแนวของสถานศึกษา เป็นระดับการศึกษาและชั้นปี
5.ออกแบบการจัดกิจกรรมแนะแนว ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ การจัดกิจกรรมเวลาจัดกิจกรรม หลักฐานการทำกิจกรรม และการประเมินผล
6.จัดทำแผนการจัดกิจกรรมแนะแนวรายชั่วโมง ประกอบด้วย ชื่อกิจกรรม จุดประสงค์เวลา เนื้อหา/สาระ วิธีดำเนินกิจกรรม สื่อ/อุปกรณ์ และการประเมินผล
7.จัดกิจกรรมแนะแนวตามแผนการจัดกิจกรรมแนะแนวและประเมินผลการจัดกิจกรรม
8.ประเมินเพื่อตัดสินผล และสรุปรายงาน

โรงเรียนที่จัดบริการแนะแนว จะต้องมีการจัดหรือบริหารงานแนะแนวที่เป็นระบบ คือ
1. การจัดอบรมผู้บริหารให้มีความรู้ความเข้าใจในลักษณ และกระบวนการแนะแนวรู้กลวิธีในการบรหารงาน เพราะงานแนะแนวจะพัฒนาไปในทิศทางที่ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพถ้าได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากผู้บริหาร
2. การตั้งคณะกรรมการแนะแนวโดยมีผู้บริหารโรงเรียน หรือผู้ช่วยผู้บริหารเป็นประธานและครูแนะแนวเป็นเลขานุการ ร่วมกันจัดบริการแนะแนวโดยอาจจะรับผิดชอบงานแนะแนวแต่ละด้าน เช่น การให้บริการรวบรวมข้อมูล บริการสนเทศ การจัดวางตัวบุคคล เป็นต้น
3. การจัดสิ่งอำนวนความสะดวกผู้บริหารจะต้องจัดสิ่งอำนวนความสะดวกให้กับครูแนะแนวคือ ห้องแนะแนวงบประมาณที่จะไว้จัดหาสิ่งจำเป็นต่างๆ เช่น สื่อ อุปกรณ์ คู่มือต่างๆ ฯลฯ
4. การจัดศูนย์สนเทศโรงเรียนควรจัดเอกสาร และป้ายประกาศสำหรับติดต่อข้อมูลทุกด้านไว้ในศูนย์สนเทศเพื่อให้นักเรียนไปอ่านด้วยตนเอง และนำไปใช้ประโยชน์
5. การจัดทำแผนงานแนะแนวตลอดปีโดยจัดประชุมและจัดตั้งกรรมการทำงานทำปฏิทินปฏิบัติงานแนะแนวติดตามผล












www.google.comwww.google.com